วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554

ประวัติธนาคาร

   ธนาคาร ธหารไทย จำกัด(มหาชน)
ก่อตั้งด้วยความคิดริเริ่มของ ฯพณฯ พลเอก สฤษดิ์ ธนะรัชต์ และได้รับอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ตามพระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2488 ธนาคารเปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ.2500 ณ สำนักงานใหญ่ถนนราชดำเนิน โดยมีประเภทบริการที่จำกัด และมุ่งให้บริการทางการเงินแก่หน่วยงานทหารและข้าราชการหารเป็นหลัก หลังจากนั้นจึงได้พัฒนาและเติบโตขึ้นอย่างเป็นลำดับ จนกระทั่งในปี พ.ศ.2506 ธนาคารจึงได้เปิดสาขาแห่งแรกคือ สาขาราชประสงค์

    ปี 2507-2516
ธนาคารได้ขยายขอบเขตการให้บริการทางการเงินสู่ภาคเศรษฐกิจและเอกชนมากขึ้น เพื่อตอบสนองต่อนโยบายของทางการ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจประเทศและในปี 2516 ธนาคารจึงได้ดำเนินธุรกิจด้วยฐานะธนาคารพาณิชย์ที่สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้นด้วยการขยายฐานการให้บริการสู่ลูกค้าประชาชนโดยทั่วไปและใช้คขวัญว่า "ธนาคารธหารไทย รับใช้ประชาชน"

    ปี 2521
ในปี 2521 ธนาคารได้ย้ายสำนักงานใหญ่จากอาคาร 2 ถนนราชดำเนิน มาสู่อาคารสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ มุมถนนพยาไทตัดกับถนนศรีอยุธยา และปี 2525 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูหัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานตราให้แก่ธนาคารทหารไทย จำกัด เป็นธนาคารพาณิชย์ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และได้เพิ่มทุนเป็นครั้งแรกจาก 10 ล้านบาท เป็น 100 ล้านบาท ธนาคารได้นำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการพัฒนาระบบงาน ซึ่งสามารถให้บริการถอนเงินต่างสาขาระหว่างสำนักงานใหญ่และในกรุงเทพฯ ได้เป็นครั้งแรกในปี 2526 และพัฒนาระบบเงินฝากให้เป็นระบบคอมพิวเตอร์เต็มรูปแบบในปี 2528

    ปี 2530
ธนาคารได้ขยายฐานการให้บริการทางการเงินออกไปส่ต่างประเทศเป็นครั้งแรก โดยจัดตั้งบริษัทเงินทุนTMB(ฮ่องกง) จำกัด และต่อมายกฐานะขึ้นเป็นสำนักงานผู้แทนฮ่องกง

    ปี 2536
ธนาคารได้ย้ายสำนักงานใหญ่มาอยู่ที่ ถนนพหลโยธิน ที่พร้อมด้วยอุปกรณ์อำนวยความสะดวก สามารถให้บริการทางการเงินแก่ลูกค้าอย่างมีประสิทธภาพและครบถ้วน ต่อมาในปี 2537 ธนาคารได้จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน จำกัด ตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด พ.ศ. 2535

    ปี 2536-2538
gเป็นระยะเวลาที่ธนาคารดำเนินนโยบาย "มุ่งสูธฯาคารคุณภาพ" ในระยะที่ 1 อันเป็นการเตรียมพร้อม โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงานในด้านต่างๆ ภายใต้โครงการ Total Quality Service (TQS)  และได้พัฒนาคุณภาพในด้านต่างๆอย่างต่อเนื่อง อาทิ ระบบงานสาขาแบบ Quality Branch พัฒนาระบบการสื่อสารข้อมูลภายในสำนักงานใหญ่ และสาขาย่อยเป็นการส่งผ่านระบบ E=Mail และ Intranet พัฒนาระบบหักบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างธนาคาร พัฒนาบริการทางเงินของธนาคารให้ได้มาตราฐาน ISO 9000 รวมทั้งจัดตั้งบริษัทหลักทรัพย์การจัดการกองทุนรวมทหารไทย จำกัด โดยได้รับอนุญาตให้ดำเนินการได้เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2539 และปี 2540 จึงได้ขยายการดำเนินการสู่ระยะที่ 2 ใน 3 ระดับคือ ระดับองค์กร ระดับปฏิบัติงาน และระดับพนักงาน

    ปี 2541
ธนาคารได้รับการรับรองระบบคุณภาพ ISO 9002 จากสถาบัน UKAS  และจากการที่ตลาดหลักทรัพย์ได้มีนโยบายให้บริษัทจดทะเบียนมีการจัดองคกรที่ดี (Coreporate Good Governance) ธนาคารจึงได้จัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบขึ้น ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก ทำหน้าที่การตรวจสอบการดำเนินของผู้บริหาร เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนผู้ฝากเงินและลูกค้า และจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ธนาคารได้ปรับโครงสร้างองค์กรให้เหมาะสม เพื่อรับรองกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจในช่วงวิกฤตและกฏระเบียบที่เข้มงวดโดยจัดตั้งฝ่ายพัฒนาธุรกิจสินเชื่อและฝ่ายสอบทานสินเชื่อ เพื่อดูแลและแก้ไขปัญหาสินเชื่อที่ไม่เกิดรายได้ของธนาคาร นอกจากนี้ยังได้จัดตั้งบริษัท จัดการอสังหาริมทรัพย์ทหรไทย จำกัด

    ปี 2547
ธนาคารได้รวมกิจการกับ ธนาคารดีบีเอสไทยทนุ และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งการรวมกิจการดังกล่าวส่งผลให้เป็นธนาคารใหม่ที่สมบูรณ์แบบตั้งแต่ วันที่ 1 กันยายน 2547 โดยมีขนาดสินทรัพย์ประมาณ 7 แสนล้านบาท เป็นอันดับ 5 ของระบบธนาคารพาณิชย์ซึ่งการมี บริษัทประกันฯ และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนในเครือ ทำให้ธนาคารสามรถดำเนินธุรกิจได้อย่างครบวงจรหรือ Universal Banking ได้เป็นอย่างดี

    ปี 2548
ธนาคารได้ทำการ "Re-branding" โดยได้เปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษของธนาคารเป็น "TMB Bank Public Company Limited" เปลี่ยนโลโก้ใหม่และเปลี่ยนคำขวัญเป็น "ร่วมคิดเพื่อทุกก้าวของชีวิต"-"Better Partner,Better Value"เพื่อสอดคล้องกับการเป็นสถาบันการเงินที่ให้บริการครบวงจร

    ปี 2550
ธนาคารได้ออกและเสนอายหุ้นสามัญเพิ่มทุนใหม่ จำนวน 25000 ล้านหุ้นให้แก่ ING Bank  N.V. ซึ่งเป็นสถาบันกานเงิน 1 ใน 20 ของสถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก และ 1 ใน 10 อันดับแรกของสถาบันการเงินที่ใหญ่ในยุโรป รวมทั้งกระทรวงการคลังและกลุ่มบุคคลที่เฉพาะเจาะจงในประเทศ โดยหุ้นที่เหลือจากการจัดสรรเสนอขายแก่สถาบันการเงินและกองทุนในต่างประเทศ ธนาคารประสบความสำเร็จในการขายหุ้นเพิ่มทุนได้อย่างดียิ่ง โดยมีมูลค่าการขายหุ้นเพิ่มทุนในครั้งนี้ รวมทั้งสิ้นประมาณ 37622 ล้านบาท ทำให้ธนาคารมีฐานะทาการเงินที่แข็งแกร่ง ระดับความเพียงพอของเงินกองทุนของธนาคารเพิ่มขึ้นเป็น 14.4% ณ สิ้นปี 2550

    ปี 2551
ธนาคารได้ปรับองค์กรให้เป็นองค์กรที่มีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Centric Oganization) ด้วยการบริหารจัดการที่มุ่งตอบสนองต่อความต้องการและสร้างความพงึพอใจสูงสุดของลูกค้า ทั้งยังได้ดำเนินการยกระดับมาตราฐานการบริหารความเสี่ยงให้เทียบเท่าระดับมาตราฐานสากล ควบคู่กับการเพิ่มประสิทธิภาพ รวมถึงเพิ่มความสามรถในการสร้างรายได้และทำกำไร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น